2.1 ข้อมูลสารสนเทศ
1) ข้อมูล
ข้อมูล(data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
2) สารสนเทศ
3) ลักษณะของข้อมูลที่ดีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้
- มีความถูกต้องและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
- มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก
- ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต่้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด
4) ชนิดและลักษณะข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
- ข้อมูลที่เป็นตัวเลข(numeric data) เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
- เลขจำนวนเต็ม
- เลขทศนิยม เขียนได้ 2 รูปแบบ - แบบทั่วไป
- แบบวิทยาศาสตร์
- ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ(character data)
5) ประเถทของข้อมูล
เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- ข้อมูลปฐมภูมิ(primary data) คือ จ้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ
- ข้อมูลทุติยภูมิ(secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้
2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ
เราสามารถแบ่งประเภทข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
- การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
- การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องถ้ามีข้อผิดพลาดก็แก้ไข โดยอาจใช้สายตาหรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
2) การประมวลผลข้อมูล
- การจัดกลุ่มข้อมูล
- การจัดเรียงข้อมูล
- การสรุปผลข้อมูล
3) การจัดเก็บดูแลรักษาข้อมูล
- การเก็บรักษาข้อมูล
- การทำสำเนาข้อมูล
4) การแสดงข้อมูล
- การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา
- การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลตอบกลับเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
1) ระบบเลขฐานสอง
การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยเลขฐานสอง แทน 0,1 แต่ละหลักเรียกว่า บิต ( 8 บิต 1 เท่ากับ ไบต์ ) จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
2) รหัสแทนข้อมูล
- รหัสแอสกี ( American Standard Code Informater Interchange : ASCII ) เลขฐานสองจำนวน 8 บิต
- รหัสยูนิโค้ด ( Unicode ) เลขฐานสองจำนวน 16 บิต
3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
- บิต ( Bit ) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ( 0,1 ) เป็นหน่อยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
- ตัวอักขระ ( character ) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต
- เขตข้อมูล ( field ) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายในความหมายหนึ่ง
- ระเบียนข้อมูํล ( record ) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
- แฟ้มข้อมูล ( file ) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
- ฐานข้อมูล ( database ) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน
2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
1) ความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัว ( privacy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง
2) ความถูกต้อง
ความถูกต้อง ( accuracy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน
3) ความเป็นเจ้าของ
ความเป็นเจ้าของ ( property ) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดกฎหมาย
4) การเข้าถึงข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูล ( accessibility ) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
คำถาม ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้คือข้อมูลชนิดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น