วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ




2.1 ข้อมูลสารสนเทศ

      1) ข้อมูล
      ข้อมูล(data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
     
      2) สารสนเทศ
      สารสนเทศ(information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้

      3) ลักษณะของข้อมูลที่ดีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
      ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้

      - มีความถูกต้องและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้

      - มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      - ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก

      - ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต่้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด

      4) ชนิดและลักษณะข้อมูล
      ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

      - ข้อมูลที่เป็นตัวเลข(numeric data) เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
     
      - เลขจำนวนเต็ม
      - เลขทศนิยม เขียนได้ 2 รูปแบบ - แบบทั่วไป
                                                             - แบบวิทยาศาสตร์
      - ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ(character data)

      5) ประเถทของข้อมูล
      เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
   
      - ข้อมูลปฐมภูมิ(primary data) คือ จ้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

      - ข้อมูลทุติยภูมิ(secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้

2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ
      เราสามารถแบ่งประเภทข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ



      1) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
      - การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
      - การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องถ้ามีข้อผิดพลาดก็แก้ไข โดยอาจใช้สายตาหรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ


      2) การประมวลผลข้อมูล
      - การจัดกลุ่มข้อมูล
      - การจัดเรียงข้อมูล
      - การสรุปผลข้อมูล

     3) การจัดเก็บดูแลรักษาข้อมูล
     - การเก็บรักษาข้อมูล
     - การทำสำเนาข้อมูล

     4) การแสดงข้อมูล
     - การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา
     - การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลตอบกลับเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข

     2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

    

     1) ระบบเลขฐานสอง
     การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยเลขฐานสอง แทน 0,1 แต่ละหลักเรียกว่า บิต ( 8 บิต 1 เท่ากับ ไบต์ ) จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้

     2) รหัสแทนข้อมูล
     - รหัสแอสกี ( American Standard Code Informater Interchange : ASCII ) เลขฐานสองจำนวน 8 บิต
     - รหัสยูนิโค้ด ( Unicode ) เลขฐานสองจำนวน 16 บิต
     3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
     - บิต ( Bit ) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ( 0,1 ) เป็นหน่อยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
     - ตัวอักขระ ( character ) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต
     - เขตข้อมูล ( field ) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายในความหมายหนึ่ง
     - ระเบียนข้อมูํล ( record ) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
     - แฟ้มข้อมูล ( file ) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
     - ฐานข้อมูล ( database ) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน

     2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล

     1) ความเป็นส่วนตัว
     ความเป็นส่วนตัว ( privacy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง



     2) ความถูกต้อง
     ความถูกต้อง ( accuracy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน

     3) ความเป็นเจ้าของ
     ความเป็นเจ้าของ ( property ) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดกฎหมาย

     4) การเข้าถึงข้อมูล
     การเข้าถึงข้อมูล ( accessibility ) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว



คำถาม   ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้คือข้อมูลชนิดได้








วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยสามคำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ "การสื่อสาร" ซึ่งมีความหมายดังนี้

-เทคโนโลยี(Technology)
 การนำคสามรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์  มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั่งสื่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ให้แก่บุคคลหรือองค์กร
-สารสนเทศ(Information)
 ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือเห็นประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ

-การสื่อสาร(Communication)
 การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง  จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

              เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology : IT) มาจากคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ" เชื่อต่อกัน ซึ่งหมายถึง การนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน หรือแก้ปัญหาต่างๆให้แก่บุคคลหรืององค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology : ICT) เมื่อนำคำทั้งสามมาเชื่อมต่อกันจะมีความหมาย คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ เสียง เป็นต้น

1.2 ระบบสารสนเทศ

              ระบบสารสนเทศ(Information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และการจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ

               1) ฮาร์ดแวร์
               ฮาร์ดแวร์(hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ เนื่องจากสามารถทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น จอภาพ(monitor) คีย์บอร์ด(keyboard) เมาส์(mouse) เครื่องพิมพ์(printer) สแกนเนอร์(scanner) ไมโครโฟน(microphone) ลำโพง(speaker) หูฟัง(headphone) เราเตอร์(router) จอยสติ๊ก(joystick) เว็บแคม(web cam) เครื่องอ่านบาร์โค้ด(barcode reader) เป็นต้น

             2) ซอฟต์แวร์
             ซอฟต์แวร์(software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ภายใต้ขบเขตที่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมนั้นๆสามารถทำงานได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

             ซอฟต์แวร์ระบบ 
             ซอฟต์แวร์(system software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณืและซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นทำงานต่างๆได้

             ซอฟแวร์ประยุกต์
             ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผูใช้แต่ละคน

              3) ข้อมูล
              ข้อมูล(data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ
           
              4) บุคลากร
              บุคลากร(people) จะต้องมัความรู้และความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ(user)

              5) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
              ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัตอตามกฎระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน(user manual) อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

              ส่วนประกอบทั้งห้านี้ล้วนมีความสำคัญ หากขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ก็อาจจะทำให้ระบบสารสนเทศนั้นขาดความสมบูรณ์ได้

1.3 ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

               1) ด้านการศึกษา
               ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

               2) ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
               ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆทั้งหมดไว้และนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา

               3) ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
               การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

               4) ด้านการศึกษาและเทคโนโลยี
               การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น

              5) ด้านความบันเทิง
              รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกและรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

              นอกจากประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กล่าวมานั้น ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย เช่น ด้านสิ่งพิมพ์ ด้านการเงินธนาคาร ด้านการแพทย์และสาธาณสุข ด้านความมั่นคง ด้านเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น

1.4 แนวโน้มการมช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              - เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
              - มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
              - อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกระทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีการใช้งานที่หลากหลานมากยิ่งขึ้น
              - การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่ดดยคอมพิวเตอร์
              - ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆเพิ่มากขึ้น
              - หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง แต่ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆมากขึ้น
              แนวดน้มด้านอื่นๆยังมีอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน

1.5 ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              - พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
              - การใช้ชีวิตของสังคมเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง
              - ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
              - การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย ถ้าผู้ส่งไท้ระวังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
              - เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
              ผลหระทบด้านอื่นๆยังมีอีกมากมาย แต่สิ่งสำคัญก็คือผู้คนในสังคม
จะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่างๆ เหล่านี้

1.6 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              
              - นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์(programmer) ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ
              - นักวิเคราะห์ระบบ(system analyst) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสานสนเทศ โดยออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
              - ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล(database administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล ดูแลความปลอดภัยของข้อมูล ประสานงาน และตรวจสอบการใช้งาน
              - ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย(network administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์การ
              - ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์(webmaster) ทำหน้าที่ดูแลและคอบคงบคุมทอศทางของเว็บไซต์
              - เจ้าหน้าที่เทคนิค(technician) ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
              นอกจากนี้ ยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอีกมากมาย

โปรแกรมประยุกต์ : mozilla firefox