วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ




2.1 ข้อมูลสารสนเทศ

      1) ข้อมูล
      ข้อมูล(data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
     
      2) สารสนเทศ
      สารสนเทศ(information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้

      3) ลักษณะของข้อมูลที่ดีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
      ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้

      - มีความถูกต้องและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้

      - มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      - ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก

      - ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต่้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด

      4) ชนิดและลักษณะข้อมูล
      ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

      - ข้อมูลที่เป็นตัวเลข(numeric data) เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
     
      - เลขจำนวนเต็ม
      - เลขทศนิยม เขียนได้ 2 รูปแบบ - แบบทั่วไป
                                                             - แบบวิทยาศาสตร์
      - ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ(character data)

      5) ประเถทของข้อมูล
      เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
   
      - ข้อมูลปฐมภูมิ(primary data) คือ จ้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

      - ข้อมูลทุติยภูมิ(secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้

2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ
      เราสามารถแบ่งประเภทข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ



      1) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
      - การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
      - การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องถ้ามีข้อผิดพลาดก็แก้ไข โดยอาจใช้สายตาหรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ


      2) การประมวลผลข้อมูล
      - การจัดกลุ่มข้อมูล
      - การจัดเรียงข้อมูล
      - การสรุปผลข้อมูล

     3) การจัดเก็บดูแลรักษาข้อมูล
     - การเก็บรักษาข้อมูล
     - การทำสำเนาข้อมูล

     4) การแสดงข้อมูล
     - การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา
     - การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลตอบกลับเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข

     2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

    

     1) ระบบเลขฐานสอง
     การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยเลขฐานสอง แทน 0,1 แต่ละหลักเรียกว่า บิต ( 8 บิต 1 เท่ากับ ไบต์ ) จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้

     2) รหัสแทนข้อมูล
     - รหัสแอสกี ( American Standard Code Informater Interchange : ASCII ) เลขฐานสองจำนวน 8 บิต
     - รหัสยูนิโค้ด ( Unicode ) เลขฐานสองจำนวน 16 บิต
     3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
     - บิต ( Bit ) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ( 0,1 ) เป็นหน่อยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
     - ตัวอักขระ ( character ) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต
     - เขตข้อมูล ( field ) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายในความหมายหนึ่ง
     - ระเบียนข้อมูํล ( record ) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
     - แฟ้มข้อมูล ( file ) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
     - ฐานข้อมูล ( database ) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน

     2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล

     1) ความเป็นส่วนตัว
     ความเป็นส่วนตัว ( privacy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง



     2) ความถูกต้อง
     ความถูกต้อง ( accuracy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน

     3) ความเป็นเจ้าของ
     ความเป็นเจ้าของ ( property ) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดกฎหมาย

     4) การเข้าถึงข้อมูล
     การเข้าถึงข้อมูล ( accessibility ) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว



คำถาม   ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้คือข้อมูลชนิดได้








วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยสามคำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ "การสื่อสาร" ซึ่งมีความหมายดังนี้

-เทคโนโลยี(Technology)
 การนำคสามรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์  มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั่งสื่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ให้แก่บุคคลหรือองค์กร
-สารสนเทศ(Information)
 ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือเห็นประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ

-การสื่อสาร(Communication)
 การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง  จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

              เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology : IT) มาจากคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ" เชื่อต่อกัน ซึ่งหมายถึง การนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน หรือแก้ปัญหาต่างๆให้แก่บุคคลหรืององค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology : ICT) เมื่อนำคำทั้งสามมาเชื่อมต่อกันจะมีความหมาย คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ เสียง เป็นต้น

1.2 ระบบสารสนเทศ

              ระบบสารสนเทศ(Information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และการจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ

               1) ฮาร์ดแวร์
               ฮาร์ดแวร์(hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ เนื่องจากสามารถทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น จอภาพ(monitor) คีย์บอร์ด(keyboard) เมาส์(mouse) เครื่องพิมพ์(printer) สแกนเนอร์(scanner) ไมโครโฟน(microphone) ลำโพง(speaker) หูฟัง(headphone) เราเตอร์(router) จอยสติ๊ก(joystick) เว็บแคม(web cam) เครื่องอ่านบาร์โค้ด(barcode reader) เป็นต้น

             2) ซอฟต์แวร์
             ซอฟต์แวร์(software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ภายใต้ขบเขตที่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมนั้นๆสามารถทำงานได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

             ซอฟต์แวร์ระบบ 
             ซอฟต์แวร์(system software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณืและซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นทำงานต่างๆได้

             ซอฟแวร์ประยุกต์
             ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผูใช้แต่ละคน

              3) ข้อมูล
              ข้อมูล(data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ
           
              4) บุคลากร
              บุคลากร(people) จะต้องมัความรู้และความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ(user)

              5) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
              ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัตอตามกฎระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน(user manual) อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

              ส่วนประกอบทั้งห้านี้ล้วนมีความสำคัญ หากขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ก็อาจจะทำให้ระบบสารสนเทศนั้นขาดความสมบูรณ์ได้

1.3 ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

               1) ด้านการศึกษา
               ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

               2) ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
               ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆทั้งหมดไว้และนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา

               3) ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
               การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

               4) ด้านการศึกษาและเทคโนโลยี
               การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น

              5) ด้านความบันเทิง
              รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกและรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

              นอกจากประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กล่าวมานั้น ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย เช่น ด้านสิ่งพิมพ์ ด้านการเงินธนาคาร ด้านการแพทย์และสาธาณสุข ด้านความมั่นคง ด้านเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น

1.4 แนวโน้มการมช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              - เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
              - มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
              - อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกระทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีการใช้งานที่หลากหลานมากยิ่งขึ้น
              - การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่ดดยคอมพิวเตอร์
              - ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆเพิ่มากขึ้น
              - หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง แต่ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆมากขึ้น
              แนวดน้มด้านอื่นๆยังมีอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน

1.5 ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              - พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
              - การใช้ชีวิตของสังคมเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง
              - ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
              - การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย ถ้าผู้ส่งไท้ระวังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
              - เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
              ผลหระทบด้านอื่นๆยังมีอีกมากมาย แต่สิ่งสำคัญก็คือผู้คนในสังคม
จะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่างๆ เหล่านี้

1.6 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              
              - นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์(programmer) ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ
              - นักวิเคราะห์ระบบ(system analyst) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสานสนเทศ โดยออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
              - ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล(database administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล ดูแลความปลอดภัยของข้อมูล ประสานงาน และตรวจสอบการใช้งาน
              - ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย(network administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์การ
              - ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์(webmaster) ทำหน้าที่ดูแลและคอบคงบคุมทอศทางของเว็บไซต์
              - เจ้าหน้าที่เทคนิค(technician) ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
              นอกจากนี้ ยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอีกมากมาย

โปรแกรมประยุกต์ : mozilla firefox

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

about me


Aboume



ชื่อ ปรินดา  สกุล  ดิษฐเสถียร  ชื่อเล่น  ปลาย  ม.4/2  เลขที่  23
เกิด  วันจันทร์  ที่  1  มิถุนายน  2541  ปีขาล
ที่อยู่  3/4  หมู่  1  ต.ท่าวาสุกรี  อ.+จ.พระนครศรีอยุธยา
โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
สัตว์เลี้ยง  สุนัข  แมว  ไก่  ปลาสอด  ปลาหางนกยูง
สีที่ชอบ  เหลือง  เขียว  ม่วง  โอลโรส  ดำ  ชมพู  ฟ้า 
อาหารที่ชอบ  ต้มข่าไก่  แกงเขียวหวาน  หมูแดดเดียว+น้ำพริกตาแดง  สปาเกตตี้คาโบนาร่า  อาหารญี่ปุ่น บลา บลา
ลักษณะนิสัย  เอาแต่ใจ  ปากร้ายแต่ใจดี  มีน้ำใจ  เฮฮา  ชอบเล่นแบบเด็กๆ
สัตว์ที่ไม่ชอบ  จิ้งจก  ตุ๊กแก  งู  ตะขาบ  แมงป่อง 
ประเภทหนังที่ชอบ  แฟนตาซี  ลึกลับ  การ์ตูน  ผจญภัย
สิ่งที่ชอบ  แฟชั่น  การแต่งตัว  ความสบาย  อากาศเย็นๆ  ฝน  ว่ายน้ำ  เล่นอูคูเลเล่
คนที่ไม่ชอบ  เห็นแก่ตัว  ไม่มีน้ำใจ  ไม่ซื่อสัตย์  ขี้โกหก  ขี้อวด  หลงตัวเอง